เมื่อคืนวันที่ 1 กันยายน 67 ชาวบ้านน้ำคำน้อย ตำบลน้ำคำใหญ่ อำเภอเมืองยโสธร ได้ร่วมกันทำบุญข้าวประดับดินตามความเชื่อกันว่า ในวันแรม 14 ค่ำ เดือน 9 เป็นวันสำคัญในการทำบุญข้าวประดับดินโดยในการทำบุญดังกล่าวจะนำดอกไม้ธูปเทียนข้าวปลาอาหาร หวานคราว ที่ทำเป็นห่อใส่ถาดจากนั้นจะจุดธูปเทียนหรือวางตามหน้าบ้าน ตามลานหญ้า ตามกำแพงวัด หรือ ตามธาตุที่บรรจุกระดูกของ พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย อาหารที่นำมาวางในห่อจะมีข้าวเหนียวหนึ่ง คำหมากพู บุรี่ ลาบปลา ต้มปลา ลาบเนื้อ ต้มเนื้อ หรือแกงเป็ด ไก่ ย่าง ผลไม้ ของหวาน ข้าวต้ม น้ำอ้อย น้ำตาล ตามแต่ที่ทุกคนคิดว่าเป็นอาหารที่ถูกใจของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เพราะเชื่อว่าเป็นวันที่ประตูนรก และสวรรค์เปิดดวง วิญญาณของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว รวมถึงเปรต สัตว์นรกต่าง ๆ จะขึ้นมาอยู่บนโลกมนุษย์ จึงเกิดเป็นประเพณีบุญข้าวประดับดิน เพราะเป็นการนำอาหารคาวหวานมาวางไว้ตามจุดต่าง ๆ หรือที่เรียกตามภาษาอีสานว่า ย่ายห่อข้าวน้อย โดยคำว่า ย่าย หมายถึงการวางเป็นระยะ เพื่อให้ดวงวิญญาณได้
ในส่วนของพระสงฆ์ในวัดจะตีกลอง ลั่นฆ้อง เป็นเวลา 30 นาที เพื่อเป็นการบอกกล่าว ชาวบ้าน ว่าเป็นวันสำคัญของบุญข้าวประดับดินตีกลอง ลั่นฆ้อง เป็นเวลา 30 นาที เพื่อเป็นการตักเตือน บอกกล่าว ว่า เป็นบุญข้าวประดับดิน
สำหรับประวัติความเป็นมาของบุญประดับดิน คือ เป็นหนึ่งในความเชื่อ และเป็นหนึ่งในประเพณีฮีด 12 เป็นบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายาย และญาติที่ล่วงลับไปแล้ว ดังนั้นจึงมีที่มาของมูลเหตุ คำว่าบุญข้าวประดับดิน เกิดจากความเชื่อตามนิทานธรรมบท เมื่อครั้งสมัยพระพุทธกาล มีญาติของพระเจ้าพิมพิสาร ได้ขโมยยักยอกทรัพย์เงินสิ่งของในวัดไปเป็นของตนเอง ต่อมาเลยเสียชีวิตลง ได้กายเป็นเปรตอยู่ในนรก ต่อมาวันหนึ่งพระเจ้าพิมพิสารได้ทำบุญถวานแด่พระพุทธเจ้าและสงฆ์ แต่ไม่ได้หยาดน้ำอุทิศให้กับฝูงเปรตในนรก พอถึงเวลากลางคืน ญาติของพระเจ้าพิพิสาร ที่เป็นเปรต ได้ยกพวกเข้ามาร้องโหยหวนส่งเสียงดังรบกวนตอดทั้งคืน จนพระเจ้าพิมพิสานนอนไม่หลับ จึงได้มีการทำบุญถวายทานอีกครั้งหนึ่ง โดยได้ถวายทานอุทิศส่วนกุศลหยาดน้ำบอกทานไป ให้กับเปรตและญาติทั้งหลาย จึงทำให้พวกผีปีศาตร์ เปรต ทั้งหลายเงียบหายไป ด้วยเหตุดังกล่าว จึงมีที่มาของคำว่าบุญข้าวประดับดินมาถึงทุกวันนี้….
…วีรพล บุญเดช ผู้สีอข่าว จ.ยโสธร/รายงาน….