ข่าวทั่วไปข่าวพาดหัว

เครือข่าย มรภ.พระนครศรีอยุธยา ขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาในพื้นที่ทุ่งภูเขาทอง “งานมูโหลดปากเดือน”

การฟื้นฟูทุนวัฒนธรรมทุ่งภูเขาทอง ตอน เทศกาลทุนทางวัฒนธรรม “งานมูโหลดปากเดือน” ภายใต้ผลงานวิจัยเรื่อง “โครงการ การฟื้นฟูทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ ทุ่งภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา กรอบวิจัย “การขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ” ภายใต้วิทยสถาน “ธัชภูมิ” เพื่อการพัฒนาพื้นที่ ประจำปีงบประมาณ 2566”

เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2567 ณ มัสยิดอาลียิดดารอยน์ ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นางสมทรง พันธ์เจริญวรกุล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นประธานเปิดงาน “งานมูโหลดปากเดือน” การฟื้นฟูทุนวัฒนธรรมทุ่งภูเขาทอง ตอน เทศกาลทุนทางวัฒนธรรม โดยเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ” ภายใต้วิทยสถาน “ธัชภูมิ” เพื่อการพัฒนาพื้นที่ ประจำปีงบประมาณ 2566” ในวันจันทร์ที่ 2-4 กันยายน 2567 โดยอาจารย์ ดร.อมรา ดอกไม้ อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ ในนามตัวแทนคณะทำงานโครงการวิจัยเรื่อง “การฟื้นฟูทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ทุ่งภูเขาทอง ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน มีนายเดชาธร เชาว์เลขา นายอำเภอพระนครศรีอยุธยา นางวรัญญา เซ็นเสถียร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลภูเขาทอง ผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา คณาจารย์ ท่านอิหม่าม คณะกรรมการมัสยิดอาลียิดดารอยน์ และแขกผู้มีเกียรติร่วมงาน ซึ่งการจัดงานครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากนายบุญญา ศรีสมาน อิหม่ามมัสยิดอาลียิดดารอยน์ เจ้าของสถานที่เป็นอย่างดี

อาจารย์ ดร.อมรา ดอกไม้ กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ 1. เพื่อสืบค้นทุนทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ในพื้นที่ทุ่งภูเขาทอง นำไปสู่การจัดทำฐานข้อมูลทุนทางวัฒนธรรม 2.เพื่อฟื้นฟูทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่ทุ่งภูเขาทอง นำไปสู่การสร้างเทศกาลวัฒนธรรม และ 3. เพื่อศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากฟื้นฟูทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่ทุ่งภูเขาทอง ซึ่งโครงการนี้จะก่อให้เกิดการฟื้นฟูทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่ทุ่งภูเขาทอง นำไปสู่การสร้างเทศกาลวัฒนธรรมเป็นการนำเอาองค์ความรู้ที่ได้จากการค้นพบ มาสืบสาน ต่อยอด และสร้างกลไกการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนาทุนวัฒนธรรมด้วยการจัดเทศกาลวัฒนธรรม ซึ่งเดิมนั้นเป็นชุมชนที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตัวมีความโดดเด่นความหลากหลายของเชื้อชาติ จนหล่อหลอมอยู่ร่วมกันเป็นพหุวัฒนธรรมที่ยังคงสืบทอดต่อกันมาถึงปัจจุบัน โครงการวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน ร่วมกับหน่วยงานราชการ ภาคเอกชน และนักวิจัยชุมชนในพื้นที่หลายท่าน หลายชุมชน และหลายจังหวัดในประเทศไทย
คณะทำงานฯ จึงได้จัดกิจกรรมงานมูโหลดปากเดือน เชิญกุรซีคานหาม ตีกลองรำมะนาอุเละห์นบี การแสดงกระบี่กระบอง กิจกรรมสร้างสรรค์จากอัตลักษณ์พื้นถิ่นทุ่งภูเขาทอง ตลาดทุนวัฒนธรรม อาหาร และของฝากของที่ระลึก คณะทำงานฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการบูรณาการระหว่างชุมชนพร้อมทั้งหน่วยงานภาครัฐ ที่ช่วยสนับสนุนส่งเสริมภายใต้แนวความคิด “พหุวัฒนธรรม ทุนวัฒนธรรม ทุ่งภูเขาทอง” เพื่อถ่ายทอดเรื่องเล่า ตำนานความเชื่อและสิ่งศักดิ์ ผ่านวิถีชีวิตคนทุ่งภูเขาทอง นำไปสู่การสร้างกลไกการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนาทุนวัฒนธรรมด้วยการจัดเทศกาลวัฒนธรรม เพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป

นางสมทรง พันธ์เจริญวรกุล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้ เพื่อก่อให้เกิดการฟื้นฟูทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่ทุ่งภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นำไปสู่การสร้างเทศกาลวัฒนธรรม เป็นการนำองค์ความรู้ที่ได้จากการค้นพบ มาสืบสาน ต่อยอด และสร้างกลไกการมีส่วนร่วม ในการอนุรักษ์และพัฒนาทุนวัฒนธรรมด้วยการจัดเทศกาลวัฒนธรรม ที่มีกระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชนในเมืองมรดกโลก โดยเฉพาะตำบลภูเขาทองเป็นพื้นที่ ที่สามารถต่อยอดองค์ความรู้เดิม สู่การพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ยังคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของชุมชน รวมถึงสามารถสร้างภูมิคุ้มกันทางมรดกวัฒนธรรม ผ่านข้อค้นพบจากงานวิจัยในเรื่ององค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ ศิลปกรรม วัฒนธรรม และโบราณคดี พร้อมแนวทางการจัดการมรดกวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์และมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เพื่อร่วมมือกันสร้างคุณค่าและเพิ่มมูลค่าพัฒนาทุนวัฒนธรรมด้วยการจัดเทศกาลวัฒนธรรม นำเสนอผ่านการสื่อสารเรื่องราวรากเหง้าทุนวัฒนธรรมผ่านนวัตกรรมสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ เพื่อให้มีภูมิคุ้มกันและรู้เท่าทัน ให้คนทุกวัย ทุกอาชีพสามารถเข้าถึงได้

ในนามผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยินดีอย่างยิ่งที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ได้มีความร่วมมือกับมัสยิดอาลียิดดารอยน์ สามารถเกื้อหนุนการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ในทิศทางบวกได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจฐานราก โดยพัฒนาทุนวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น ให้เป็นผลิตภัณฑ์และการบริการทางวัฒนธรรมรูปแบบใหม่ที่ยังคงรักษาคุณค่าและอัตลักษณ์เดิมไว้ และ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การดำเนินงานในครั้งนี้จะเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการตามที่ตั้งไว้ทุกประการ

เกียรติยศ ศรีสกุล ผอ.ภาคกลาง