ข่าวทั่วไปข่าวพาดหัว

ร้อยเอ็ด-จัดกิจกรรม ทดสอบตลาดและส่งเสริมช่องทางการตลาดในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOPที่เป็นของฝากของที่ระลึก และโครงการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก การผลิต การตลาดและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่มาตรฐานสากลเพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เติบโต

ร้อยเอ็ด-จัดกิจกรรม ทดสอบตลาดและส่งเสริมช่องทางการตลาดในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOPที่เป็นของฝากของที่ระลึก และโครงการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก การผลิต การตลาดและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่มาตรฐานสากลเพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เติบโต

วันที่ 16 กันยายน 2567 เวลา 17.00 น.นายนพดล จอมเพชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เปิดการจัดกิจกรรม ทดสอบตลาดและส่งเสริมช่องทางการตลาดในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP

ที่เป็นของฝากของที่ระลึก และโครงการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก การผลิต การตลาดและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่มาตรฐานสากลเพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เติบโต ณ ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ร้อยเอ็ด โดยมีนางราณี วงศ์ลุน พัฒนาการจังหวัดร้อยเอ็ด หัวหน้าส่วนราชการ และเครือข่าย ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน เข้าร่วมกิจกรรม

นางราณี วงศ์ลุน พัฒนาการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า จังหวัดร้อยเอ็ด ได้อนุมัติงบประมาณตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์พื้นถิ่นไปสู่มาตรฐานสากลเพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP เป็นของฝากของทีระลึก จ้างเหมาทดสอบตลาดและช่องทางการตลาดในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ที่เป็นของฝากของที่ระลึก กรมการพัฒนาชุมชน ได้อนุมัติงบประมาณตามแผนปฏิบัติราชการ ประจำโครงการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก การผลิต การตลาดและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เชื่อมโยงช่องทางการตลาดในการสร้างรายได้จากกิจการอาหารปลอดภัย โดยได้บูรณาการ 2 โครงการ จัดให้มีการส่งเสริมช่องทางการตลาดเพื่อผลักดันผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ให้ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทดสอบตลาดและส่งเสริมช่องทางการตลาดในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ที่เป็นของฝากของที่ระลึก และกิจกรรมเชื่อมโยงช่องทางการตลาดในการสร้างรายได้จากกิจการอาหารปลอดภัย กำหนดดำเนินการหว่างวันที่ 16 – 18 กันยายน 2567 เวลา 10.00-20.00 น. ณ ห้างสรรพสินไลฟ์สไตล์ ร้อยเอ็ด เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดให้แก่กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP พัฒนา ต่อยอด เชื่อมโยงช่องการตลาดอาหารปลอดภัย โดยบูรณาการร่วมมือภาคีเครือข่ายภาครัฐและภาคเอกชน

นางราณี ฯ กล่าวอีกว่า กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 21 กลุ่ม ประกอบด้วย ผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP ระดับ 1-5 ดาว ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นของฝาก ของที่ระลึก จำนวน 7 กลุ่ม ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ที่ได้รับการพัฒนาตามและ โครงการส่งเสริมการสร้างรายได้จากกิจการอาหารปลอดภัย จำนวน 10 กลุ่มกลุ่มผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP ที่ได้รับการพัฒนา จากโครงการ เครือข่ายองค์ความรู้ KBO และผลิตภัณฑ์ อาหารปลอดภัยเด่น จำนวน 4 กลุ่ม และผลิตภัณฑ์เด่น จำนวน 4 กลุ่ม

กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ จำนวน 21 บูธ การแสดงการละเล่นศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน และดนตรี การจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการขาย ผลที่คาดว่าจะได้รับ กลุ่มผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP มีช่องทางการตลาดเพิ่มมากขึ้น กลุ่มผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP สามารถสร้างรายได้จากกิจการอาหารปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภา