ข่าวทั่วไปข่าวพาดหัว

นายธวัชชัย ศรีทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีเป็นประธานในพิธีบวงสรวงพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในงานประเพณีวิ่งควายจังหวัดชลบุรี ประจำปี พ.ศ.2567

นายธวัชชัย ศรีทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีเป็นประธานในพิธีบวงสรวงพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในงานประเพณีวิ่งควายจังหวัดชลบุรี ประจำปี พ.ศ.2567 โดยมีน.ส.สุดินาแก้วดี ท้องถิ่นจังหวัดชลบุรีนายวิทยาคุณปลื้มนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีนายสุติกรณ์ จำเริญพานิช นายกเทศมนตรีเมืองชลบุรี หัวหน้าส่วนราชการและประชาชนในพื้นที่ร่วมพิธี ณวัดใหญ่อินทาราม (พระอารามหลวง) อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรีด้วยจังหวัดชลบุรีร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีและเทศบาลเมืองชลบุรี จัดงานประเพณีวิ่งควายจังหวัดชลบุรีครั้งที่ 153ประจำปี พ.ศ.2567 ภายใต้ชื่องาน “หนึ่งเดียวในไทย หนึ่งเดียวในโลก”กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-16ตุลาคม 2567ณสนามหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองชลบุรี และสนามหน้าศาลากลางจังหวัดชลบุรีโดยกำหนดจัดพิธีบวงสรวงพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และงานประเพณีวิ่งควายจังหวัดชลบุรี ประจำปีพ.ศ.2567


ในวันที่8ตุลาคม 2567ณ วัดใหญ่อินทาราม(พระอารามหลวง) อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรีและในวันที่16ตุลาคม 2567เป็นวันวิ่งควาย(ตรงกับวันขึ้น14ค่ำเดือน 11)ซึ่งในปีนี้มีกิจกรรมภายในงาน โดยจะมีพิธีเปิดงานในช่วงเช้าแหริ้วขบวนเกวียนกัณฑ์ 13กัณฑ์ขบวนคำขวัญจังหวัดชลบุรีและขบวนอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยที่เป็นเอกลักษณ์ทั้ง11อำเภอ กิจกรรมแข่งขันวิ่งควายการประกวดสุขภาพควายควายพ่อพันธุ์แม่พันธุ์และควายเผือก พิธีทำขวัญควายกีฬาพื้นบ้านการจำหน่ายสินค้าOTOPของดีจังหวัดชลบุรีและกิจกรรมแสง สีเสียงอีกมากมายประเพณีวิ่งควายเป็นประเพณีของชาวชลบุรีที่สืบทอดมาหลายชั่วอายุคนที่ปฏิบัติในวันขึ้น 14 ค่ำเดือน 11 ของทุกปีซึ่งเป็นวันใกล้สิ้นฤดูฝนย่างเข้าสู่ฤดูหนาวเป็นฤดูกาลที่การไถหว่านได้เสร็จเรียบร้อยแล้วชาวไร่ชาวนามองเห็นผลผลิตจากแรงกายของตน ตลอดจนแรงสัตว์ที่ได้ใช้ทำงานจึงคำนึงถึงบุญคุณของสัตว์ที่ได้ใช้ไถนามาเป็นเวลานานควรจะได้รับความสุขบ้างตามสภาพจึงได้ตกแต่งวัวควายของตนให้สวยงาม เป็นการทำขวัญควายแล้วนำควายมาเข้าเมืองเพื่อพบปะกับบรรดาเกษตรกรทั้งหลายเพื่อพูดคุยสารทุกข์สุขดิบกันเหตุที่เลือกวันขึ้น 14 ค่ำเดือน 11นั้นเพราะวันรุ่งขึ้นเป็นวันพระทุกคนต้องหยุดงานไปวัด คนในเมืองจะซื้อของไปห่อข้าวต้มหางทำบุญตักบาตรใน “วันเทโวโรหนะ” ซึ่งเป็นวันออกพรรษา ประเพณีวิ่งควายจึงแฝงไปด้วยแนวคิดและคำสอนในเรื่องของบุญคุณและความสามัคคี รวมทั้ง บรรพชนเป็นห่วงว่าประเพณีสูญหายไป ซึ่งในปีใดไม่มีการจัดวิ่งวัวและวิ่งควายในปีนั้นวัวควายจะเป็นโรคระบาดตายกันมากจึงต้องบนบานศาลกล่าวและนำวัวควายมาวิ่งเพื่อรักษาประเพณีไว้


และอีกสิ่งหนึ่งที่เป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งในช่วงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสจังหวัดชลบุรีเมื่อวันเสาร์ที่7ธันวาคม 2455ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีในสมัยนั้นคือ พระยาวิเศษฤาไชยได้จัดวิ่งควายถวายทอดพระเนตรที่หน้าศาลากลางจังหวัดชลบุรีซึ่งจะเห็นได้ว่าประเพณีวิ่งควายได้มีมานานแล้วในอดีตและเป็นประเพณีที่แปลกกว่าจังหวัดอื่น
ในโอกาสนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีขอเชิญชวนเที่ยวชมประเพณีวิ่งควายซึ่งเป็นประเพณีอันเก่าแก่ที่อยู่คู่จังหวัดชลบุรีมาถึง 153 ปีซึ่งเป็นประเพณีหนึ่งเดียวในไทยหนึ่งเดียวในโลก และมุ่งหวังว่าการจัดงานในปีนี้จะนำมาซึ่งความคึกคักทั้งคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ และที่สำคัญจะเป็นกิจกรรมที่กระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่เป็นอย่างดี

วิศาล แสงเจริญ
ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดชลบุรี