ข่าวประชาสัมพันธ์ข่าวพาดหัวช่วยชาวบ้าน

รมว.อว.ปลื้มปฏิบัติการจิตอาสา 3มหาวิทยาลัยสู้วิกฤตอุทกภัยชายแดนให้ ยกระดับงานวิชัยแก้จนสู่แพลตฟอร์มสู้ภัยพิบัติบำบัดทุกข์ชาวบ้านด้วยหัวใจ

นราธิวาส-ข่าว/ฮามีดะห์ ยูโซ๊ะ
รมว.อว.ปลื้มปฏิบัติการจิตอาสา
3มหาวิทยาลัยสู้วิกฤตอุทกภัยชายแดนให้ ยกระดับงานวิชัยแก้จนสู่แพลตฟอร์มสู้ภัยพิบัติบำบัดทุกข์ชาวบ้านด้วยหัวใจ

รมว.อว.ชาบซึ้งใจการทำความดีด้วยหัวใจของจิตอาสา มหาวิทยาลัยสงขลานดรินทร์ วิทยาเขตปัดตานี-มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ในการบรรเทาทุกข์ประชาชนจังหวัด ชายแดนใต้ที่ประสบวิกฤตอุทกภัยครั้งรุนแรง ด้วยความรวดเร็วฉับไว พร้อมกับยืนยันผลักดันการใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มสู้ภัยพิบัติให้ครอบคลุมตั้งแต่ระดับดับท้องถิ่นท้องที่ ขึ้นไปถึงระดับชาติ

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 13 ธันวาคม 2567 ที่ ห้องประชุมสภาสำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมคณะ แพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม นายสิรภพ ดวงสอดศรี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน โดยมีว่าที่ร้อยตรี ตระกูล โทธรรม
ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ดร.จงรัก พลาศัย นายกสภามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ผศ.ดร.ปรีชา สะแลแม อธิการบดีมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมรับฟังรายงานการขับเคลื่อนงานการจัดการภัยพิบัติในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส)

โดยนางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำคณะลงพื้นที่ครวจเยี่ยมให้กำลังใจชาวบ้านที่ประสบวิกฤตอุทกภัย จังหวัดชายแดนใต้ พร้อมกับแสดงความชื่นชมความเสียสละ ในการปฏิบัติงานของคณาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา ตลอดจนบุคลากร 3 มหาวิทยาลัยในพื้นที่จังหวัดชายแดนได้ ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาราชภัฏขะลา และ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ โดยกล่าวว่าพลังความรู้จากคณาจารย์ นักวิจัย ตลอดจนขุมพลังของบุคลากรทั้ง 3 มหาวิทยาลัยกว่า 3 หมื่นคน ที่เชื่อมโยงกันเครือข่ายทุกภาคส่วนในพื้นที่ ภายใต้การจัดการอย่างเป็นระบบ ตามองค์ประกอบในแพลตฟอร์มที่ถูกยกระดับจากแพลดฟอร์มแก้ปัญหาความยากจนลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งทั้ง 3 มหาวิทยาลัยได้ร่วมมือกับหน่วยบริหารและจัดการทุน ด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ตกสว.) กระทรวง อว. ทำการศึกษาวิจัยและพัฒนาขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้ความเดือดร้อนของประชาชนที่ประสบวิกฤตอุทกภัยครั้งรุนแรงที่สุดในรอบหลายทศวรรม ได้รับการบำบัด บรรเทาในเวลาอันรวคเร็ว และได้รับการฟื้นฟูเอียวย่างฉับไว

“กระทรวง อว.อยากผลักดันให้ความสำเร็จที่เกิดขึ้นนี้ มีความก้าวหน้า และยั่งยืน โดยจะให้การสนับสนุนให้ขยายขอบเขตการใช้ประโยชน์แพลตฟอร์มสู้ภัยพิบัติ ครอบคลุมทุกระดับ ทั้งระดับชุมชน ระดับจังหวัด ระดับลุ่มน้ำ ระดับส่วนกลาง ขณะเดียวกันก็จะให้การสนับสนุนมหาวิทยาลัยในพื้นที่เชื่อมโยง กลไกภาคี และหน่วยปฏิบัติการจัดการภัยพิบัติในพื้นที่ รวมทั้งเชื่อมโยงความรู้ท้องถิ่นกับความรู้สากล เพื่อนำไปสู่การจัดการภัยพิบัติ ตามบริบทเฉพาะของแต่ละพื้นที่ โดยสนับสนุนให้ บพท.เป็นหน่วยบูรณาการเชื่อมโยงการทำงาน และร่วมมือกับหน่วยงานปฏิบัติการด้านภับพิบัติระดับต่างๆ เพื่อให้เกิดกลไกการทำงานระดับชุมชน เชื่อมโยงกับระดับจังหวัด และนโยบายระดับชาติ

ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการ บพท.กล่าวว่า ผลสัมฤทธิ์ความสำเร็จในการบรรเทาทุกข์ และฟื้นฟูเขียวยาแก่ประชาชนที่ประสบวิกฤตอุทกภัยจังหวัดชายแคนใต้ ที่เป็นไปด้วยความรวคเร็ว ฉับไว คือดอกผลจากการการยกระดับงานวิจัยแก้ปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จแม่นยำ ไปสู่แพลดฟอร์มสู้ภัยพิบัติ หรือ Disaster Platform 1เล้วบูรณาการเข้าด้วยกัน เชื่อมโยงกับพลังข้อมูล พลังภาคีเครือข่ายในพื้นที่ โดยมีประชาชนผู้ประสบภัยเป็นศูนย์กลาง สืบสานพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเข้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลปัจจุบันว่าด้วย “จิตอาตา เราทำความดีด้วยหัวใจ”

“กระบวนการขับเคลื่อนกลไกแพลตฟอร์มสู้ภัยพิบัติ ในการบรรเทาทุกข์ให้ประชาชนจากวิกฤตอุทกภัยจังหวัดชายแคนได้ของ 3 มหาวิทยาลัย มุ่งเน้นความสอดคล้องกับเงื่อนไข ข้อจำกัดของแต่ละพื้นที่ โดยมีอาจารย์อรุณี บัวเนี่ยว และอาจารย์สมพร ช่วยอารีย์ เป็นหัวหน้าชุดรับผิดชอบพื้นที่จังหวัดตานี อาจารย์เกสรี ลัดเลีย เป็นหัวหน้าชุดรับผิดชอบพื้นที่จังหวัดยะลา และอาจารย์วสันด์ พลาศัย เป็นหัวหน้าชุด รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดนราธิวาส”

ผู้อำนวยการ บพท.ชี้แจงต่อไปว่าบุคลากรทั้ง 3 มหาวิทยาลัย ล้วนทำตัวเป็นอาสาสมัครบรรเทาทุกข์ประชาชนด้วยหัวใจ โดยใช้ศักยภาพที่มีอยู่อย่างเต็มที่ ทั้งในการแปลงอาคารสถานที่ของมหาวิทยาลัยเป็นศูนย์พักพิง ที่มีขีดความสามารถในการให้บริการด้านสูติกรรม และบริบาลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง รวมทั้ง
เป็นโรงครัวจัดทำอาหารปรุงสุก แจกจ่ายแก่ผู้ประสประสบภัย ควบคู่ไปกับหน่วยบริการเคลื่อนที่ในการซ่อมแซม เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานพาหนะ ที่เสียหายจากน้ำท่วม รวมทั้งหน่วยบริการเคลื่อนที่ด้านสัตวบาล และด้านสาธารณสุข

จากนั้นนางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และคณะได้เดินทางไปยัง องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะท้อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เพื่อเยี่ยมเยียนให้กำลังใจและมอบถุงยังชีพให้พี่น้องประชาชนตลอดจนเยี่ยมชมพื้นที่ต้นแบบการบูรณาการเพื่อฟื้นฟูภัยพิบัติร่วม โดยอบต.เกาะสะท้อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ระหว่าง
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (อว.) สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 25 นราธิวาส กระทรวงแรงงาน (รง.) และกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) โดยโดยนางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้กล่าวให้กำลังใจและชื่นชมการทำงาน พร้อมมอบเทคโนโลยีนวัตกรรมเพื่อฟื้นฟู และส่งเสริมอาชีพให้กับชุมชนต่อไป