ข่าวทั่วไปข่าวพาดหัว

พัฒนากลไกความร่วมมือการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านการขนส่งและพาหนะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

พัฒนากลไกความร่วมมือการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านการขนส่งและพาหนะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

วันที่ 27 ธันวาคม 2567
ณโรงแรมประจวบแกรนด์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
นายนันทปรีชา คำทองประธานสภาผู้บริโภคจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นประธานเปิดงานประชุมเตรียมความพร้อมการผลักดันให้เกิดสถานีขนส่งโดยศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เพื่อรองรับการเดินทางและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผลักดันให้มีการเปลี่ยนรถตู้ผู้โดยสาร 14 ที่นั่งที่หมดอายุให้เป็นรถมินิบัส 20 ที่นั่งเพื่อความปลอดภัยและรองรับผู้โดยสารได้มากขึ้น

โดยมี พ.อ.อ. พินิจ ผลพานิช รักษาการหัวหน้าสำนักงานปลัด (อบจ.)
นางสาววรรัตน์ แก้วกัณฑ์ หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์และการจัดการ (ปภ.)
นายวสันต์ ดอกดวง สำนักงานขนส่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
นายสุรัตน์ โสขะรัตน์ แขวงทางหลวงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
พ.ต.อ.ภษรุฒง์ แสงอากาศ ตำรวจภูธรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
โดยมีนางสาวธนพร บางบัวงาม หัวหน้าหน่วยงานประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์สภาองค์กรผู้บริโภค จัดเวทีพัฒนากลไกความร่วมมือการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านขนส่งและยานพาหนะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พร้อมด้วย คณะองค์กรสมาชิกเครือข่าย สภาผู้บริโภคจังหวัดประจวบคีรีขันธ์โดยมีรต อนุรักษ์ ทองจรัส(ดีเจต้น)ผู้ดำเนินรายการ โดยนางสาวธนพร บางบัวงาม กล่าวว่าสภาองค์กรผู้บริโภคจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ที่ต้องการผลักดันขับเคลื่อนงานนโยบาย ให้เกิดสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อรองรับการเดินทางและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนการผลักดันให้มีการเปลี่ยนรถตู้โดยสาร 14 ที่นั่งที่หมดอายุ เป็นรถมินิบัส 20 ที่นั่ง: เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและรองรับผู้โดยสารได้มากขึ้น
ความเห็นจากหน่วยงานต่างๆ:สำนักงานขนส่งจังหวัดประจวบ:


สถานีขนส่งประจวบต้องรองรับรถโดยสารสายใต้ทั้งหมดเสนอให้ใช้ที่ดินของการรถไฟในรูปแบบธุรกิจให้เช่าเพื่อสร้างสถานีขนส่ง โดยยกตัวอย่างสถานีขนส่งหาดใหญ่ที่มีกำไร แต่สถานีขนส่งในบางจังหวัดก็ขาดทุน
ยืนยันว่าจำนวนรถตู้โดยสาร 14 ที่นั่งจะไม่เพิ่มขึ้น แต่จะลดลงรับทราบว่าจำนวนรถมินิบัสที่เพิ่มขึ้นยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ
คาดว่า ในปี 2568 รถตู้หมดอายุจะเก็บไม่ต่ออนุญาตประมาณ 20 คัน
องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.): อ้างถึงข้อ 17 และ 13 ของกฎหมายที่ให้อำนาจ อบจ. ในการดูแลและพัฒนาระบบการขนส่งทั้งทางบกและทางน้ำ และมุ่งเน้นการเพิ่มศักยภาพการโดยสารสาธารณะ
กรมทางหลวง: มีหน้าที่เสริมทาง สะพาน และขยายทางเชื่อมต่อกับสถานีขนส่งแห่งใหม่ (ซึ่งยังไม่ทราบสถานที่ก่อสร้างที่แน่นอน) แต่เห็นด้วยกับสถานที่ก่อสร้างที่สี่แยกประจวบฯป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดประจวบ:
ถอดบทเรียนจากเหตุการณ์รถทัวร์โดยสารสองชั้นที่เกิดอุบัติเหตุเพิ่มช่วงเฝ้าระวัง 10 วันอันตรายในปี 2568 เป็น 10 วัน (จากเดิม 7 วันในปี 2567)มีแผนฝึกซ้อมจริงบนถนนเพชรเกษม และมีคณะกรรมการบังคับใช้กฎหมาย
ตำรวจภูธรจังหวัดประจวบ:
รับผิดชอบ 16 สถานีตำรวจ เห็นด้วยที่จะมีสถานีขนส่งที่จะเกิดขึ้นที่ 4 แยกประจวบได้ลด“อุบัติเหตุ”จากรถโดยสารอีกทางหนึ่ง
สาเหตุหลักของอุบัติเหตุบนถนนสายหลักคือการหลับใน แม้สภาพถนนในประจวบจะดี
มีการสรุปตัวเลขอุบัติเหตุเข้าที่ประชุมทุกเดือน
ประธานสภาผู้บริโภคจังหวัดประจวบ:จะนำประเด็นการผลักดันสถานีขนส่งแห่งใหม่และการเปลี่ยนรถตู้โดยสารเสนอต่อคณะกรรมาธิการ“ด้านคมนาคม”วุฒิสภาในต้นปี 2568จะนำปัญหาและอุปสรรคในการขับเคลื่อนนโยบายนี้เสนอต่อคณะกรรมาธิการเช่นกัน
คำถามจากประชาชน/ผู้บริโภค: ถามต่อขนส่งจังหวัด
ความคืบหน้าของการผลักดันสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
แลพจำนวนรถมินิบัสที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2567 ถึง 2568
จำนวนรถตู้โดยสารสาธารณะที่หมดอายุ 13 ปี และจำนวนรถตู้เดิมที่ถูกยกเลิกไปแล้ว

ด้านในนันทะปรีชาคำทองประธานสภาผู้บริโภคจังหวัดประจวบคีรีขันธ์กล่าวว่าโดยสรุป: การเสวนามุ่งเน้นการพัฒนาระบบขนส่งในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

โดยมีประเด็นสำคัญคือการสร้างสถานีขนส่งแห่งใหม่และการเปลี่ยนรถตู้โดยสารเก่าเป็นรถมินิบัส ซึ่งได้รับความเห็นและการรับทราบปัญหาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ยังคงมีคำถามจากประชาชนที่ต้องการความชัดเจนในเรื่องความคืบหน้าและข้อมูลเชิงปริมาณ เช่น จำนวนรถมินิบัสที่เพิ่มขึ้นและจำนวนรถตู้ที่ถูกยกเลิกไปแล้ว การผลักดันนโยบายนี้ยังคงต้องติดตามความคืบหน้าต่อไป โดยเฉพาะการนำเสนอต่อกรรมาธิการ“ด้านคมนาคม” วุฒิสภา และการแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ


พิสิษฐ์รื่นเกษมข่าวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์โทร 064-364-1644