02-04-68 นภาลัย ชูศรี สงขลา 0959164463
ดอกราชพฤกษ์บานสะพรั่งเหลืองอร่ามสวยงาม สร้างสีสันให้กับบริเวณริมถนนตั้งแต่ท่าแพขนานยนต์ไปจนถึงวงเวียนสวนสองทะเล ให้มีความสวยงาม นักเรียนถือเป็นสัญลักษณ์ ของการปิดเทอมใหญ่ด้วย
ที่บริเวณถนนเส้นทางจากท่าแพขนานยนต์ไปจนถึงปลายสนอ่อน เขตเทศบาลนครสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ในช่วงนี้ ต้นราชพฤกษ์ ดอกไม้ประจำชาติไทย และดอกไม้ประจำเทศกาลสงกรานต์ ออกดอกสีเหลืองอร่าม บานสะพรั่งเต็มต้น เป็นช่อดอกเป็นพวงห้อยระย้าอย่างสวยงาม สีเหลืองอร่าม โดยต้นราชพฤกษ์ เมื่อออกดอก นักเรียนจะถือว่า เป็นสัญลักษณ์ ของการปิดเทอมใหญ่ ในเดือนมีนาคมของทุกปี ซึ่งต้นราชพฤกษ์ จะออกดอกบานสะพรั่งเต็มต้น ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ของทุกปี
ในช่วงนี้ ต้นราชพฤกษ์ บริเวณปลายสนอ่อน ที่มีการปลูกเรียงราย 2 ข้างทาง ก็ออกดอกเต็มต้นสร้างความสวยงามให้กับพื้นที่เมืองสงขลา และสร้างสีสัน ให้กับถนนเส้นทางปลายสนอ่อน ตั้งแต่ ท่าแพขนานยนต์ ไปจนถึงวงเวียนสวนสองทะเล นักท่องเที่ยวที่ขับรถผ่านบริเวณนี้ จะดูสบายตา เนื่องจากมีดอกราชพฤกษ์ สีเหลืองอร่ามบานสะพรั่งให้ได้ชม อีกด้วย
สำหรับดอกราชพฤกษ์ เป็นดอกไม้ประจำชาติไทย และดอกไม้ประจำเทศกาลสงกรานต์ เพราะในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ต้นราชพฤกษ์จะออกดอกสะพรั่งเต็มต้น มีช่อดอกเป็นพวงห้อยระย้าอย่างสวยงามมีสีเหลืองอร่าม ซึ่งสีเหลืองเป็นสีที่ตรงกับวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และสีเหลืองยังเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนาอีกด้วย และยังเป็นไม้มงคล ที่นำไปใช้ในการประกอบพิธีสำคัญ เช่น การนำเนื้อไม้ไปใช้เป็นเสาหลักเมือง ทำคฑาจอมพล ยอดธงชัยเฉลิมพลของกองทหาร ถูกจำลองแบบประดับไว้บนอินทรธนูของข้าราชการพลเรือน ใช้ในการประกอบพิธีลงเสาเอกบ้านใหม่ นอกจากนั้นยังมีความเชื่อกันว่าหากนำต้นราชพฤกษ์ไปปลูกทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของบ้าน จะทำให้สมาชิกของบ้าน เจริญรุ่งเรื่องเป็นเท่าทวีคูณ ตามชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “คูน”ดอกราชพฤกษ์ เป็นดอกไม้มงคลที่ใช้แทนสัญลักษณ์ :ประเทศไทย : ดอกไม้ประจำชาติไทย สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา : ดอกไม้ประจำเทศกาลสงกรานต์ ดอกไม้ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชและเป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ต้นราชพฤกษ์ เป็นไม้ยืนต้นที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียใต้ ทางตอนใต้ของประเทศปากีสถาน อินเดีย พม่า ศรีลังกา และ กระจายทั่วไปตามป่าเบญจพรรณ หรือป่าเต็งรัง ส่วนในประเทศไทยพบได้ทั่วไป แต่จะพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มีชื่อวิทยาศาสตร์ : cassia fistula l. | ชื่อวงศ์ : fabaceae / caesalpiniaceae | ชื่อสามัญ : golden shower, indian laburnum, pudding-pine tree | ชื่อพื้นเมือง : คูน ชัยพฤกษ์ (ภาคกลาง) ลมแล้ง (ภาคเหนือ) ลักเคยลักเกลือ (ภาคใต้) กุเพยะ(กะเหรี่ยงกาญจนบุรี) ปึยยะปูโย เปอโซ แมะหล่าหยู่ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
“ต้นราชพฤกษ์” มีความสูงประมาณ 5 – 15 เมตร เปลือกต้นเรียบ เกลี้ยง มีสีเทาอ่อน หรือสีเทาอมน้ำตาล สีเทาอมขาว หรือสีนวล ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะ ลักษณะช่อห้อยระย้าออกตามกิ่งหรือออกตามซอกใบ ออกดอกแบบสมมาตรด้านข้าง มีกลีบดอก 5 กลีบ ปลายมน สีเหลืองสด โดยกลีบดอกบนสุดจะเรียงอยู่รอบในสุด ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนอ่อน จะออกดอกสีเหลืองอร่ามบานสพรั่งในหน้าแล้ง คือราวเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งเป็นดอกไม้บานท้าลมแล้ง จนมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ดอกลมแล้ง”
“ต้นราชพฤกษ์” นอกจากจะเป็นไม้มงคลแล้ว ยังเป็นไม้ที่ให้ร่มเงาและมีความสวยงาม เหมาะสำหรับการปลูกไว้ประดับตกแต่งบ้านเรือน อีกทั้งยังใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรค โดยนำส่วนต่าง ๆ มาใช้ในการรักษาโรคได้
พี่เสือ นักข่าว สงขลา