ข้าราชการไทยข่าวพาดหัวช่วยชาวบ้าน

กรมชลประทาน รับฟังความคิดเห็นโครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม การก่อสร้างอาคารบังคับน้ำในแม่น้ำจันทบุรี วางแผนบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบเพื่อประโยชน์ของประชาชน เกษตรกรในอนาคต

กรมชลประทาน รับฟังความคิดเห็นโครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม การก่อสร้างอาคารบังคับน้ำในแม่น้ำจันทบุรี วางแผนบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบเพื่อประโยชน์ของประชาชน เกษตรกรในอนาคต

วันนี้ ( 11 ส.ค.63 ) ที่ห้องประชุมจุลมณี 1 ชั้น 2 โรงแรมเคพีแกรนด์ จ.จันทบุรี กรมชลประทาน ได้จัดการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 ปฐมนิเทศ โครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม อาคารบังคับน้ำในแม่น้ำจันทบุรี โดยมีนายอลงกรณ์ แอคะรัจน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานกล่าวเปิดการรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะต่างๆของประชาชนที่เป็นประโยชน์ต่อโครงการ และเปิดโอกาสให้ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา สื่อมวลชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้มีโอกาสรับทราบข้อมูลข่าวสารที่ชัดเจนและถูกต้อง ซึ่งที่ผ่านมาพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำจันทบุรีประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง และปัญหาอุทกภัยในช่วงฤดูฝนบ่อยครั้ง ทำให้ราษฎรที่อาศัยในพื้นที่และส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนผลไม้ ที่เป็นพืชทางเศรษฐกิจสูงประสบปัญหาได้รับความเดือดร้อน ชลประทานจันทบุรีได้ว่าจ้างบริษัทมาดำเนินการโครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอาคารบังคับน้ำในแม่น้ำจันทบุรี ในโครงการมุ่งเน้นการจัดการบริหารน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดมีความสมดุลระหว่างการใช้น้ำและการบรรเทาอุทกภัย

 

การเพิ่มศักยภาพทางด้านการเกษตร การอุปโภค-บริโภค การดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ 1,593 ตารางกิโลเมตร มีระยะการดำเนินการตั้งแต่ 8 มิถุนายน ถึง29 พฤศจิกายน 2563 ระยะเวลา 540 วัน ในอนาคตหากมีการดำเนินโครงการหลังการทำการศึกษาความเป็นไปได้แล้วเสร็จว่าจังหวัดจันทบุรีควรจะมี ฝาย อ่างน้ำ ประตูระบายน้ำ หรือการผันน้ำจากแหล่งกักเก็บน้ำอื่นมาในแม่น้ำจันทบุรี ซึ่งกรมชลประทานวางแนวทางไว้ว่าจะมีการเลือกโครงการที่เกิดประโยชน์สูงสุด ทำได้สำเร็จและไม่ติดปัญหาเพื่อเสนอของบประมาณในการดำเนินการต่อไป ซึ่งจะส่งผลให้แม่น้ำจันทบุรีมีแหล่งกักเก็บน้ำในลำน้ำเพื่อใช้ในฤดูแล้งให้เพียงพอต่อความต้องการในด้านการเกษตร ส่วนน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค ของประชาชน และสัตว์เลี้ยงที่อยู่ในเขตพื้นที่โครงการ ช่วยในการระบายน้ำเมื่อเกิดน้ำหลากเพื่อลดปัญหาอุทกภัยในเขตพื้นที่จังหวัดจันทบุรี และบริเวณพื้นที่จัดทำโครงการสามารถเป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนได้อีกทางหนึ่ง

ภาพ/ข่าว จรัล บรรยงคเสนา  ผู้สื่อข่าว จ.จันทบุรี
นาย  พรเทพ เขม้นเขตวิทย์ รายงานจากศูนย์ข่าวภาคตะวันออก