“โครงการโรงเรียนต้นแบบ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มณฑลทหารบกที่ 310
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริให้ มณฑลทหารบกที่ 310 ดำเนินการจัดทำโครงการทหารพันธุ์ดี “ชุมชนเบิกบาน อาหารปลอดภัย” ร่วมกับโรงเรียนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดารของภาคเหนือ ในพื้นที่จังหวัดตาก เนื่องจากปัจจุบันโรงเรียนและชุมชนในพื้นที่ดังกล่าว ยังขาดแคลนแหล่งอาหารที่ใช้ในการบริโภค เพื่อเป็นอาหารกลางวันสำหรับเด็กนักเรียน ได้รับสารอาหารโปรตีนที่ดี มีคุณค่าทางโภชนาการ ตลอดจนชุมชนใกล้เคียงก็ยังคงขาดแคลนความมั่นคงทางอาหาร ในการพึ่งพาตนเองเป็นอย่างมาก มณฑลทหารบกที่ 310 จึงได้ดำเนินโครงการทหารพันธุ์ดี “ชุมชนเบิกบาน อาหารปลอดภัย” ในรูปแบบของโครงการโรงเรียนต้นแบบ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในพื้นที่จังหวัดตาก มาตั้งแต่ปี 2564 เพื่อ
รวมทั้งส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัย, การเลี้ยงสัตว์ และการประมง สำหรับนำมาผลิตเป็นวัตถุดิบที่มีคุณภาพด้วยความมั่นใจ นำไปใช้ในการประกอบอาหาร อันจะทำให้ได้รับสารอาหารครบถ้วนทั้งห้าหมู่ นักเรียนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ปัจจุบันมณฑลทหารบกที่ 310 รับผิดชอบโรงเรียนต้นแบบ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในพื้นที่จังหวัดตาก จำนวนทั้งสิ้น 9 โรงเรียน รายละเอียดดังนี้
1. โรงเรียนบ้านโสมง ตำบลบ้านนา อำเภอสามเงา
2. โรงเรียนบ้านสันป่าป๋วย ตำบลบ้านนา อำเภอสามเงา
3. โรงเรียนบ้านอูบวาม สาขาบ้านอูบวาม ตำบลบ้านนา อำเภอสามเงา
4. โรงเรียนบ้านหินลาดนาไฮ ตำบลบ้านนา อำเภอสามเงา
5. โรงเรียนบ้านห้วยเหลือง ตำบลแม่ท้อ อำเภอเมือง
6. โรงเรียนขุนห้วยตากพัฒนาศึกษา ตำบลท้องฟ้า อำเภอบ้านตาก
7. โรงเรียนบ้านศรีคีรีรักษ์ ตำบลเชียงทอง อำเภอวังเจ้า
8. โรงเรียนบ้านวังน้ำเย็น ตำบลนาโบสถ์ อำเภอวังเจ้า
9. โรงเรียนผาผึ้งวิทยาคม ตำบลเชียงทอง อำเภอวังเจ้า
สำหรับการดำเนินการโครงการทหารพันธุ์ดี “ชุมชนเบิกบาน อาหารปลอดภัย” ในรูปแบบของโครงการโรงเรียนต้นแบบ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นั้น ได้แบ่งการดำเนินการออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน : ดำเนินการสำรวจความต้องการของโรงเรียนในโครงการ และการวางแผนร่วมกับทางโรงเรียนและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการซ่อมแซม/ปรับปรุงสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จำเป็น โดยเน้นการใช้ประโยชน์ อำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน และการศึกษาเล่าเรียนของนักเรียน รวมทั้งการบริหารจัดการพื้นที่สำหรับการเพาะปลูก และการเลี้ยงสัตว์ ให้มีปริมาณเพียงพอสำหรับการผลิตวัตถุดิบเพิ่มเติมที่จะนำมาประกอบอาหารกลางวันให้กับเด็กนักเรียน
ขั้นตอนที่ 2 การปฏิบัติตามแผน : ได้ดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้ร่วมกับครู นักเรียน ส่วนราชการและประชาชนในพื้นที่ ในการซ่อมแซม/ปรับปรุงสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จำเป็น โดยเน้นการใช้ประโยชน์ อำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันและการศึกษาเล่าเรียนของนักเรียน เช่น การเปลี่ยนก๊อกน้ำ อุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น รวมทั้งการปลูกผัก และการเลี้ยงสัตว์ โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการผลิตวัตถุดิบที่มีคุณภาพที่จะนำมาประกอบอาหารกลางวันให้กับเด็กนักเรียน และการสร้างกระบวนการเรียนรู้การดำเนินการตามโครงการทหารพันธุ์ดี ในการทำเกษตรอินทรีย์เพื่อลดต้นทุนการผลิต และการผลิตวัตถุดิบที่ปลอดสารพิษเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับ ครู นักเรียน และประชาชนในชุมชนรอบโรงเรียน
ขั้นตอนที่ 3 การพัฒนาไปสู่ความยั่งยืน : มีจุดมุ่งหมายหลักในการส่งมอบโครงการให้โรงเรียนดำเนินการ โดยมีหน่วยเป็นผู้ประสานงานและให้คำปรึกษา รวมทั้งการขยายองค์ความรู้ไปสู่ชุมชนรอบโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียนมีอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการรับประทานครบทั้ง 3 มื้อ และเกิดความยั่งยืนในชุมชุน โดยมีโรงเรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้
ในปัจจุบัน การดำเนินการของทั้ง 9 โรงเรียน ในพื้นที่จังหวัดตาก อยู่ในขั้นที่ 3 ซึ่งโรงเรียนสามารถเก็บผลผลิตมาบริโภค, จำหน่าย และแจกจ่ายให้กับชาวบ้านในชุมชม อีกทั้งได้ขยายผลไปสู่ชุมชนของนักเรียนและผู้ปกครองในพื้นที่ โดยได้เริ่มปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ตามบ้านเรือน เพื่อเป็นอาหาร, สร้างรายได้สำหรับชาวบ้านในชุมชน และก่อให้เกิดความมั่นคงด้านอาหารบนพื้นฐานการพึ่งพาตนเองให้ยั่งยืนสืบไป
********************************
คณะบรรณาธิการข่าว กองทัพภาคที่ 3
27 มกราคม 2565
ปรีชา นุตจรัส รายงานข่าวพิษณุโลก